4 เลื่อยไฟฟ้า สำหรับงานไม้ มีเลื่อยอะไรบ้าง

เลื่อยไฟฟ้า 4 ประเภทหลักที่นิยมใช้งาน!

อย่าบอกว่าคุณไม่มีเลื่อยไฟฟ้า เราเชื่อว่าใน 4 ชนิดนี้คุณต้องมีสักชิ้นแน่ๆ เพราะเลื่อยไฟฟ้าเหล่านี้ สามารถ ทุ่นแรงคุณได้อย่างมหาศาลในการทำงาน เพียงแต่ว่าการใช้งานอาจจะแตกต่างกันออกไป

กล่าวคือ เลื่อยไฟฟ้า คือ เครื่องเลื่อยกลที่ใช้เลื่อยชิ้นงานโดยใช้กำลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการเลื่อยตัดชิ้นงานโลหะที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่น เหล็กกล้าละมุน อะลูมิเนียม และทองเหลือง เครื่องเลื่อยมี 4 ชนิด

  1. เลื่อยชัก
  2. เลื่อยจิ๊กซอว์ หรือ เลื่อยฉลุ
  3. เลื่อยสายพานแนวตั้ง
  4. เลื่อยสายพานแนวนอน

เลื่อยชัก

คือเครื่องเลื่อยกลซึ่งจะทำการตัดวัสดุโดยการเลื่อนใบเลื่อยแบบผลักและดึง ประกอบด้วย ส่วนแขนซึ่งเป็นส่วนที่หมุน และโครงเหล็กรูปตัวยูที่สามารถเคลื่อนที่แบบชัก แท่นเครื่องของเลื่อยชัก ประกอบด้วยปากกาจับงาน อยู่บนแท่นเครื่อง โดยที่ปากกาด้านหนึ่งจะมีด้ามหมุนที่สามารถปรับเลื่อนได้สำหรับยึดหรือคลายการจับยึดชิ้นงานนั้น

เลื่อยชัก

โครงสร้างของเลื่อยชัก

ฐานเลื่อยชัก จะมีอ่างเก็บสารหล่อเย็นและปั๊มสารหล่อเย็นสำหรับการส่งสาร หล่อเย็นไปหล่อเย็นชิ้นงานขณะเลื่อย อ่างเก็บสารหล่อเย็นจะมีแผ่นตะแกรงกั้นเศษเลื่อยตกลงไปด้านล่างของอ่างเก็บสารหล่อเย็น และที่แท่นเครื่องจะติดตั้งปากกาจับงานอยู่ด้านบนของฐานรวมเป็นส่วนหนึ่งของฐานเครื่อง

ปากกาจับชิ้นงาน  จะสามารถปรับได้ เพื่อให้สามารถจับยึดชิ้นงานขนาดต่างๆและรูปทรงต่างๆได้ ในเครื่องชักบางเครื่อง ปากกาอาจจะเป็นแบบหมุนได้ เพื่อให้สามรถตัดเลื่อยชิ้นงานมุมต่างๆได้

โครงเลื่อยชัก จะเป็นส่วนที่ยึดใบเลื่อยและมีนอตปรับใบเลื่อยให้แข็งตึง บนโครงเลื่อย และถูกออกแบบมาเพื่อให้ใบเลื่อยตัดกับชิ้นงานเฉพาะในจังหวะการตัดเลื่อยเพื่อ ป้องกันการสึกหรอที่ไม่จำเป็นของใบเลื่อย

กลไกลเปลี่ยนความเร็ว จะเป็นคันโยกเปลี่ยนจังหวะการชักเลื่อย ต่อนาทีด้วยความเร็วที่เหมาะสมตามขนาดและชนิดของโลหะ เลื่อยชักบางเครื่องจะมีแผนภาพแสดงจำนวนจังหวะการชักเลื่อยต่อนาที เมื่อคันดยกอยู่ในตำแหน่งต่างๆหรือ อาจจะเป็นเครื่องหมาย F M S หมายถึง เร็ว ปานกลาง และช้า

กลไกการทำงานของเลื่อยชัก

ต้นกำลังจะเป็นมอเตอร์ส่งกำลังผ่านเฟืองขับที่มีขนาดเล็กไปขับเฟืองตามที่มีขนาดใหญ่ เพื่อทดความเร็วรอบมอเตอร์ให้ช้าลง โดยจุดหมุนจะติดตั้งเยื้องศูนย์อยู่ที่ด้านข้างเฟืองตาม และจุดหมุนของข้อเหวี่ยงด้านหนึ่งจะติดตั้งอยู่ที่โครงเลื่อยด้านหลัง

ใบเลื่อยเลื่อยชัก

ใบเลื่อยเป็นอุปกรณ์ของเครื่องเลื่อยที่มีความสำคัญมาก ทำหน้าที่ตัดเฉือนชิ้นงาน ใบเลื่อยเครื่องเลื่อยทำจากเหล็กกล้ารอบสูง ชนิดผสมทังสะเตนหรือชนิดผสม โมลิบดีนัม มีความแข็งเปราะ ดังนั้นการประกอบใบเลื่อยต้องถูกวิธีและขันสกรูให้ใบเลื่อยแข็งตึงตามที่กำหนด

เลื่อยชัก

ชนิดของใบเลื่อย

ใบเลื่อยเลื่อยชักมีความหนาโดยทั่วไป 1.2 ถึง 2.5 มิลลิเมตรและยาว 14 นิ้วหรือ 16 นิ้ว ตามขนาดของเลื่อยชักมี 2 ชนิด แบบอ่อนตัวที่ใบ และ แข็งทั้งใบ
ใบเลื่อยแบบอ่อนตัวที่ใบ บริเวณฟันเลื่อยจะแข็ง ส่วนบริเวณตัวใบเลื่อยจะอ่อนกว่า ถ้าปากกาจับบีบชิ้นงานหลวมขณะเลื่อย จะทำให้แตกหักเป็นชิ้นเล็กๆ เหมาะกับชิ้นงานที่มีรูปทรงต่างๆ
ใบเลื่อยแบบแข็งทั้งใบ ใบเลื่อยนี้ทั้งฟันเลื่อยและตัวมันเองจะมีความแข็งเท่ากัน เหมาะกับงานเลื่อยตัดตรง เมื่อจะเริ่มต้นการเลื่อยต้องให้แน่ใจว่าระหว่างฟันของใบเลื่อยไม่ได้ถูกวางลงบนขอบของชิ้นงานเพราะอาจจะทำให้ใบเลื่อยหักได้ เพราะอาจจะทำให้ชิ้นงานกระเด็น เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บได้

รูปแบบ ฟันเลื่อยชัก

จะมีลักษณะของฟันเลื่อย ชุดของฟันเลื่อย ระยะห่างของฟันเลื่อย และขนาด เพื่อไม่ให้ฟันเลื่อยทื่อง่าย ฟันเลื่อยจำนวนหนึ่งจะเอียงไปด้านข้างที่เรียกว่า ชุดฟันเลื่อย ซึ่งจะกว้างกว่าความหนาของตัวใบเลื่อย รูปทรงของฟันเลื่อยที่ใช้กันทั่วไปสำหรับเลื่อยจะมี 3 แบบคือ แบบฟันตรง แบบฟันเลื้อย และแบบฟันคลื่น
ใบเลื่อยฟันตรงใบเลื่อยชนิดนี้จะมีซี่ฟันเลื่อยที่วางเฉียงสลับไปทางด้านซ้ายและด้านขวาอย่างละฟัน สำหรับเลื่อยชักงานเลื่อยโลหะที่ไม่ใช่เหล็กที่มีความแข็งน้อยจนถึงแข็งปานกลาง เช่น อลูมิเนียม ทองแดง และวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ
ใบเลื่อยฟันเลื้อย ใบเลื่อยชนิดนี้จะมีซี่ฟันเลื่อยที่เป็นทั้งฟันตรงและฟันเฉียง โดยฟันหนึ่งจะเฉียงไปทางซ้าย ฟันถนัดไปจะตรง และฟันที่ 3จะเฉียงไปทางขวาสลับกันไป เพื่อเพิ่มความทนทานให้ใบเลื่อย เหมาะกับงานเลื่อยวัสดุแข็ง เช่นเหล็กกล้า แต่จะไม่เลื่อยโลหะที่บางเกินไป
ใบเลื่อยฟันคลื่น ใบเลื่อยชนิดนี้จะมีฟัน เอียงไปทางด้านหนึ่ง และอีกชุดหนึ่งเอียงไปอีกทางด้านหนึ่ง ทีละชุดสลับกัน ทำให้มีฟันขนาดเล็กสำหรับเลื่อยมือ
มุมฟันเลื่อย ฟันเลื่อยแต่ละฟันมีลักษณะคล้ายกับลิ่ม โดยแต่ละฟันจะประกอบด้วย 3 มุม 1.มุมตัด (B) เป็นมุมตัดของฟันเลื่อย 2.มุมคายเศษ (Y) เป็นมุมที่ใช้คายเศษโลหะออกจากฟันเลื่อย 3.มุมหลบ (A) เป็นมุมที่ลดการเสียดสีระหว่างฟันเลื่อยกับชิ้นงาน และช่วยให้เกิดมุมคมตัด มุมรวมกัน (A+B+Y) = 90 องศา 

การเลือกใบเลื่อยที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ใช้กฏสามฟันเลื่อยที่อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีฟันเลื่อยตั้งอยู่บนชิ้นงานสามฟันเลื่อย ชิ้นงานมีขนาดใหญ่แต่อ่อนจะใช้ใบเลื่อยฟันหยาบชิ้นงานขนาดเล็กบางแต่แข็งจะใช้ใบเลื่อยฟันละเอียด สำหรับการตัดที่ดีที่สุดให้ใช้ความดันป้อนหนักกับวัสดุแข็งและใหญ่และใช้ความดันป้อนเบากับวัสดุอ่อนที่มีพื้นที่ภาคตัดเล็กใบเลื่อยบางแบบอาจจะติดตั้งทั้งสเตนคาร์ไบด์บนฟันเลื่อยและจำนวนฟันใบเลื่อยจะบอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้ว เช่น 10ฟัน/นิ้วและ 14ฟัน/นิ้ว แต่ที่นิยมงานทั่วไปคือ 10 ฟัน/นิ้ว

ใบเลื่อย

  • ใบเลื่อยขนาด 4 ฟัน/นิ้วสำหรับเลื่อยชิ้นงานที่มีภาคตัดขนาดใหญ่และเลื่อยได้ง่าย
  • ใบเลื่อยขนาด 6 ฟัน/นิ้ว สำหรับเลื่อยงานโลหะแข็งและการเลื่อยโลหะชนิดต่างๆ
  • ใบเลื่อยขนาด 10 ฟัน/นิ้ว และขนาด 14 ฟัน/นิ้ว สำหรับการเลื่อยชิ้นงานเมื่อมีข้อจำกัดในการทำงาน

การเลือกความเร็วและแรงกดในการป้อนตัด เมื่อเลือกขนาดของใบเลื่อยให้เหมาะสมกับชนิดและขนาดของวัสดุที่จะใช้ คือเราต้องเลือกจังหวะชักเลื่อยในอัตตราที่เหมาะสม ฟุต/วินาที หรือฟุต/นาที และแรงกดในการป้อนตัด ซึ่งทำให้ในการเลื่อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • แรงกดในการป้อนตัด ในการเลื่อยถ้าไม่มีการหาแรงกดป้อนตัดที่ถูก ถ้าเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง แสดงว่าแรงกดในการป้อนตัดสูง จะทำให้งานเลื่อยจะคด
  • จังหวะชักในการเลื่อย ถ้าจังหวะชักในการเลื่อยเร็วเกินไป ฟันเลื่อยจะสึกอย่างรวดเร็วเพราะฟันเลื่อยจะเกิดการขัดถูและจะไม่ตัดเลื่อยชิ้นงาน ทำให้เกิดความร้อนขี้เลื่อยจะมีลักษณะเป็นฝุ่นผง แสดงว่ากดเลื่อยต่ำไป และความเร็วอาจจะสูงไปและถ้าแรงตึงมากไป อาจจะทำให้หมุดยึดใบเลื่อยยืดออกหรือหักได้

การเลือกขนาดจำนวนฟัน/นิ้วของใบเลื่อยตามชนิดของวัสดุ

ชนิดของวัสดุ ใบเลื่อย

(จำนวนฟัน/นิ้ว)

ความเร็ว

(จังหวะชัก/นาที)

แรงกดในการป้อนตัด(Ib)
โลหะแผ่น 14 120-150 60
แท่งเหล็กกล้าผสม 6 60-120 100-150
แท่งเหล็กกล้ารอบสูง 6 60-90 120
แท่งเหล็กกล้าเครื่องจักร 4 100-135 150
แท่งเหล็กกล้าไร้สนิม 6 60-90 100-150
แท่งเหล็กกล้าเครื่องมือ (อบอ่อน) 6 60-90 120
แท่งเหล็กกล้าเครื่องมือ

(ไม่อบอ่อน)

4 100-135 150
แท่งอะลูมิเนียม 4 100-150 60
แท่งทองเหลือง 10 120-150 60
แท่งบรอนช์ 4 90-120 120
ท่อบาง 14 120-150 60
ท่อหนา 10 90-135 50-100

ฟันเลื่อยสึกเร็ว จะมีลักษณะโค้งมนและทื่ออย่างรวดเร็ว เกิดจากแรงกดเลื่อยที่ไม่เพียงพอ (ขี่เลื่อยจะเล็กเป็นผง) แรงกดเลื่อยมากเกินไป(ขี้เลื่อยจะไหม้)
ฟันเลื่อยหลุด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเมื่อเริ่มต้นการเลื่อย ฟันเลื่อยจะวางอยู่บนมุมที่มีคมซึ่งเป็นสาเหตุหลัดของปัญหานี้ โดยปรับตั้งเลื่อยชักด้วยการวางฟันเลื่อยบนพื้นผิวราบ จะสามารถช่วยลดฟันเลื่อยหลุดออกจากใบเลื่อยได้มากขึ้น การเลือกใบเลื่อยที่มีฟันเลื่อยละเอียดเกินไปจะทำให้เกิดการอุดตันจองขี้เลื่อยและเลื่อยกระโดดซึ่งจะทำให้ฟันเลื่อยหลุดได้ ละการเลือกใบเลื่อยที่หยาบเกินไป (น้อยกว่าสามฟันเลื่อย) จะทำให้เกิดปัญหาแบบเดียวกัน จึงควรแน่ใจได้ว่าติดตั้งใบเลื่อยอย่างถูกต้องและเลือกช่วงชักเลื่อยที่ถูกต้อง

การทำงานของเลื่อยชัก

  1. ติดตั้งใบเลื่อยในโครงเลื่อยโดยให้แน่ใจว่ารูบนปลายใบเลื่อยนั่งสนิทบนสลักยึด และฟันเลื่อยหันไปทางที่ตัด และขันนอตให้ตึง
  2. ใส่ชิ้นงานเข้าไปข้างในปากกาจับงานให้ถูกต้อง
  3. ใช้ตลับเมตรหรือบรรทัดเหล็กวัดความยาวจากขอบด้านนอกของใบเลื่อยจนถึงส่วนปลายของชิ้นงาน
  4. หมุนด้ามขันปากกาจับชิ้นงานให้แน่น
  5. ตรวจวัดความยาวของชิ้นงานในการตัด
  6. ถ้าหากเลื่อยชิ้นส่วนหลายชิ้นส่วนรวมกันที่มีขนาดเดียวกัน ให้ปรับตั้งเกจวัดความยาวของชิ้นงานที่ถูกตัดออก เพื่อป้องกันการแตกหัก
  7. ปรับความเร็วในการชักและแรงกดป้อนตัดของโครงเลื่อยตามชนิดของโลหะ
  8. ปลดคันโยกและยกโครงใบเลื่อยขึ้นในขณะเริ่มต้นเลื่อย เพื่อป้องกันไม่ให้ใบเลื่อยติดกับชิ้นงานในจังหวะแรก ซึ่งอาจจะทำให้หักได้
  9. เปิดสวิตช์ให้มอเตอร์ทำงานและค่อยๆ ปล่อยโครงใบเลื่อยลง
  10.  ตรวจสอบทิศทางของสารหล่อเย็นให้ไหลไปยังพื้นที่การเลื่อย เพื่อให้แน่ใจว่ามีการระบายความร้อนใบเลื่อยและไล่ขี้เลื่อยออกไปจากชิ้นงาน เพื่อยืดอายุการใช้งานของใบเลื่อย
  11. ปิดเครื่องและถอดชิ้นงานออก
  12. หลังเสร็จงาน ให้ทำความสะอาดเลื่อยชักและพื้นที่ทำงาน

เลื่อยชัก

ความปลอดภัยในการใช้เลื่อยชัก

  1. เพื่อความปลอดภัยให้คิดก่อนทำเสมอ
  2. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล เช่น รองเท้านิรภัย แว่นตานิรภัย ถุงมือหนัง และปลั๊กอุชดหู
  3. ตรวจสอบพื้นที่ที่จะทำการเลื่อย ต้องสะอาด
  4. มีป้ายแจ้งเตือนว่ามีคนกำลังทำงาน
  5. ให้มั่นใจว่ามีความคุ้นเคยกับการทำงานของเลื่อยชัก
  6. ห้ามใช้อุปกรณ์ที่เสียหาย
  7. ก่อนใช้เลื่อยชัก ต้องตรวจสอบก่อน
  8. ติดตั้งการ์ดป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นๆ เดินสดุด
  9. ต้องมั่นใจว่ามีแสงสว่างเพียงพอในพื้นที่การเลื่อย
  10. ห้ามยืนอยู่ตรงหน้าเลื่อยชักขณะตอนทำงาน
  11. ปากกาจับชิ้นงานต้องจับชิ้นงานให้แน่นก่อนเปิดสวิตช์เลื่อยชัก
  12. ตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็น เพื่อให้มีการไหลของน้ำหล่อเย็นเพียงพอ และปรับท่อส่งน้ำหล่อเย็นให้แีดไปบนใบเรื่อย
  13. เมื่อต้องการตัดชิ้นงานยาวๆต้องมีขาตั้งรองรับปลายชิ้นงานทุกครั้ง
  14. ก่อนปิดสวิตช์เดินเลื่อยชัก ต้องยกใบเลื่อยให้ห่างจากชิ้นงานประมาน 10 มิลลิเมตร
  15. ขณะจะเปิดสวิตช์เครื่องชักทำงาน ห้ามก้มหน้าเข้าใกล้โครงเลื่อยชัก
  16. ขณะเลื่อยชักกำลังตัดชิ้นงาน ห้ามคลายปากกาจับชิ้นงานออกเป็นอันขาด
  17. ในการเลื่อยตัดโลหะจะเกิดความร้อนหรืออาจจะเกิดประกายไฟขึ้น ดังนั้นอย่าใช้เลื่อยชักในสภาพแวดล้อมที่อาจจะเกิดระเบิด
  18. อย่าให้มืออยู่ในบริเวณที่ใบเลื่อยทำงานและบริเวณที่มีการเคลื่อนที่ของเครื่อง      
  19. ถ้าวัตถุที่เลื่อยถูกจับยืดไม่แน่น ให้หยุดเลื่อยชักทันที และขันใหม่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
  20. จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนเครื่องจักร
  21. ห้ามทิ้งออกจากเลื่อยชักคณะทำงาน
  22. ติดตั้งป้ายข้อความ อันตราย-ห้ามใช้ บนเลื่อยชักที่ชำรุด จนกว่าจะซ่อมแซมเสร็จ
  23. ก่อนที่จะทำการปรับเปลี่ยนหรือทำความสะอาด ต้องปิดเลื่อยชักจนหยุดนิ่ง

ข้อควรระวัง อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น แขนของเลื่อยชัก เศษโลหะ ขอบคมและความขรุขระของชิ้นงานเลื่อย การสวมใส่เสื้อผ้าหลวม และการบาดเจ็บที่ตา จากเศษโลหะกระเด็นเข้าตา ห้ามเลื่อยชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมาก และห้ามเลื่อยวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ

การบำรุงรักษาเลื่อยชัก

  1. หยอดน้ำมันหล่อลื่นตรงบริเวณจุดที่เคลื่อนที่ของเลื่อยชักทุกครั้งที่ทำงาน
  2. ทำความสะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง และใช้ผ้าคลุมเลื่อยชักเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
  3. ตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
  4. ตรวจสอบระบบไฮดรอลิกส์ว่ามีการั่วซึมหรือไม่
  5. ตรวจสอบสายพาน พูลเลย์ เฟืองทด ลูกปืน และชิ้นส่วนเลื่อยชักอื่นๆ เพื่อให้ได้ใช้งานตลอดเวลา

ดูรายละเอียดและราคา เลื่อยชัก เพิ่มเติม


เลื่อยจิ๊กซอว์ เลื่อยฉลุ

เลื่อยฉลุประกอบด้วยโลหะและพลาสติก ขนาดประมาณหนังสือนวนิยายปกแข็งหนึ่งเล่ม มีใบเลื่อยสั้นๆ ยื่นออกมาจากมุมด้านหนึ่ง และมีช่องขนาดใกล้เคียงกับมือ ซึ่งมีไกอยู่ตรงกลางของเลื่อย และมีสายไฟต่อออก มาจากอีกด้านหนึ่ง ส่วนของใบเลื่อยยื่นออกมาจากแผ่นโลหะเรียบ ที่มีขนาดเล็กกว่ามือผู้ใหญ่ ถ้าเสียบปลักแล้วบีบไก กลไกจะทํางานมีเสียงดัง ใบเลื่อยจะขยับขึ้นลง จิกซอว์ขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Saber Saw) เป็นเครื่องมือ ที่มีประโยชน์มาก ถ้าใช้ใบเลื่อยที่เหมาะสม จะสามารถใช้เลื่อยวัสดุได้เกือบทุกชนิด จิ๊กซอว์ไม่สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รนแรงได้ ซึ่งต่างจากเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้า เราสามารถบังคับได้โดยอิสระ หรือลากไปตามขอบไม้บรรทัดตรง หรือเมื่อ ต้องการเลื่อยเป็นวงกลมก็ผูกไว้กับจุดศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม มีข้อเสียการควบคุมให้จิกซอว์เลื่อยเป็นแนวเส้นตรง เป็นเรื่องที่ทําได้ มามักไม่ราบเรียบ 

เลื่อยจิ๊กซอว์

ที่แผ่นโลหะที่ฐานของเลื่อยฉลุมีกลไกล ล็อค ซึ่งสามารถสอดใบเลื่อยเขา ใบเลื่อย จิกซอว์บางแบบมีตัวควบคุมความที่ทําได้ยาก และผิวที่ได้ออก โลหะที่ฐานของจิกซอว์มีกลไกหลายชิ้นอยู่ข้างใน เช่น ช่องที่มีสกรู สอดใบเลื่อยเข้าไปได้ สกรูเอียง และใบเลื่อยรุ่นใหม่ๆ ชุดควบคุม ใบเลื่อย จิ็กซอร์บางแบบมีตัวควบคุมความเร็วด้วย

บเลื่อยฉลุได้ ที่ทํางานของช่างไม้ รถของช่างก่อสร้าง กล่องเครื่องมือของ ที่ร้านขายเครื่องมือและร้านขายอุปกรณ์ต่อเติมบ้านในโรงงานอาจจะมีใบเลื่อยๆ สั้นโผล่ออกมาจากฐานของจิกซอว์ ถ้าเป็นในร้าน ที่ขายใบเลื่อย จะวางขายอยู่ข้างๆ โดยไม่ติดไว้ที่ตัวเลื่อย 

เลื่อยจิ๊กซอว์

ใช้เมื่อเลื่อยฉลุ ใช้เลื่อยแนวตรงและแนวโค้ง ใช้ได้ทั้งไม้ โลหะ และพลาสติก ถ้าต้องการตัดไม้อัดเป็นรูปซานตาคลอส สามารถใช้ลึกซอว์ได้
ยังใช้ได้กับ ใช้เริ่มการเลื่อย และเลื่อยรูที่อยู่ตรงกลางแผ่นไม้อัด หรือแผ่นผนัง

การใช้งาน

  1. เลือกจิกซอว์ที่มีใบเลื่อยเหมาะกับวัสดที่จะเลื่อย ถอดปลักไฟออก แล้วใส่ใบเลื่อยตามวิธีที่แนะนําในคู่มือ โดยให้ฟันเลื่อยหันออกทางด้านนอกและชี้ลง สวมแว่นตานิรภัย
  2. วางชิ้นงานบนม้ารองเลื่อย หรือโต๊ะงาน โดยให้เส้นแนว 
  3. เสียบปลัก พาดสายไว้บนบ่า เพื่อป้องกันไม่ให้เลือยพลาง งกันไม่ให้เลื่อยพลาดไปถูกสายไฟ 
  4. วางตําแหน่งเลื่อยให้ขอบของแผ่นโลหะด้านหน้าอยู่บนชน เลื่อยอยู่ตรงเส้นแนวเลื่อย อยู่บนชิ้นงาน และตัวใบ
  5. กดไก แล้วเริ่มเลื่อย กดแผ่นรองเลื่อยลงบนชิ้นงาน แล้วเริ่มดันเลื่อยไป น้ำตามเส้นที่ขีดไว้ เมื่อต้องการปัดขี้เลื่อยออก ให้ปล่อยไกเพื่อหยุด ข้างหน้า การทํางานของเลื่อย 
  6. ปล่อยให้เลื่อยเลื่อนไปเอง ถ้าพยายามฝืนหรือออกแรงดันไปทางด้านข้าง เลื่อยจะขยับออกนอกแนวที่ต้องการ 
  7. ปล่อยให้เลื่อยเลื่อนไปเรื่อยๆ โดยพยายามคุมเมื่อถึงช่วงโค้งหรือมุม ถ้าเป็นมุมแคบๆ ให้เลื่อยเข้าไปหามุมในทิศทางหนึ่งก่อน แล้วหยุด ยก เลื่อยออกจากงาน แล้วเลื่อยเข้าไปหามุมจากอีกทางหนึ่ง
เลื่อยไฟฟ้า
เลื่อยฉลุ

หมายเหตุ ถ้าต้องการเลื่อยเป็นเส้นตรง ให้หาไม้ตรงๆ มาสักชิ้นเพื่อช่วย ทําแนว วัดระยะระหว่างใบเลื่อยกับขอบของแผ่นโลหะที่ตัวเลื่อย ใช้ปากกาจับชิ้นงาน จับชิ้นไม้ไว้ที่ระยะห่างจากเส้นแนวเลื่อยตามที่วัดได้ แล้วลองเลื่อยดู โดยลองกับ เศษไม้
คําแนะนําเพิ่มเติม เนื่องจากเลื่อยฉลุ มีความปลอดภัยสูง และใช้ประโยชน์ได้หลาย อย่าง เลื่อยฉลุจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าอย่างแรกที่ควรซื้อ

เช็คราคา เลื่อยฉลุ เลื่อยจิ๊กซอว์ ได้ที่นี่


เลื่อยสายพานแนวตั้ง 

เลื่อยสายพานแนวตั้ง เรียกว่า เครื่องสายพานแนวฉลุ เป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ โดยมีใบเลื่อยเป็นวงหมุนรอบแบบวงกลม และจะหมุนอย่างต่อเนื่องไปบนขอบของวงล้อ 2 วงบนเครื่องเลื่อย เป็นการเลื่อยอย่างต่อเนื่องสำหรับการเลื่อยตัดโลหะตรงและส่วนโค้ง หรือวัสดุอ่อน และมีความหนาที่แตกต่างกัน ใบเลื่อยจะอยู่กับที่แต่ชิ้นงานจะเคลื่อนที่ไปหาใบเลื่อยแทน และจะเป่าลมเพื่อระบายความร้อนให้กับใบเลื่อยและเป่าขี้เลื่อยออกไปจากพื้นที่เลื่อย เพื่อให้ผู้เลื่อยมองหาชิ้นงานได้ชัดเจน

เลื่อยไฟฟ้า
เลื่อยสายพานแนวตั้ง

โครงสร้างของเลื่อยสายพานแนวตั้ง ประกอบด้วย

ฐานเครื่องเลื่อย ประกอบด้วยมอเตอร์และชุดส่งกำลัง ล้อขับใบเลื่อย สายพานตัวล่าง โต๊ะชิ้นงานจะติดอยู่ด้านบนซึ่งจะมีการเซาะร่องที่จุดกึ่งกลางเพื่อให้ใบเลื่อยสามารถหมุนผ่านได้ และจะติดตั้งไกด์บังคับเลื่อยสายพานตัวล่างที่ช่องว่างใต้โต๊ะชิ้นงานคันโยกปรับตำแหน่งเกียร์และล้อปรับความเร็วรอบเลื่อยสายพานถูกติดตั้งอยู่ด้านหน้าของฐานเครื่องเลื่อย
เสาเครื่องเลื่อย จะมีลักษณะเป็นโครงสร้างกลวงในแนวตั้ง ภายในจะประกอบด้วย กลไกบังคับเลื่อยสายพาน สวิตช์เปิด-ปิด เครื่องเชื่อมเลื่อยสายพานด้วยไฟฟ้า และหินเจียระไนแนวเชื่อม
หัวเครื่องเลื่อย ซึ่งเป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่ ในหน่วยนี้จะประกอบด้วยวงล้อขับเลื่อยสายพานตัวติดตามติดตั้งอยู่บนเพลาด้านบน โดยมีล้อที่สามารถปรับความตึงของเลื่อยสายพานและหัวเป่าลมเพื่อ เป่าขี้เลื่อยออกจากชิ้นงาน และเสาติดตั้งไกด์บังคับทิศทางตัวบนให้ใบเลื่อยตรงและไม่บิดตัวขณะเลื่อยผ่านชิ้นงาน
ใบเลื่อยเครื่องเลื่อยสายพานแนวตั้ง ใบเลื่อยเครื่องเลื่อยสายพานจะใช้ชุดฟันเลื่อยแบบฟันเลื้อย ใช้เลื่อยวัสดุทั่วไปและแบบฟันคลื่น ใช้เลื่อยท่อ และรูปแบบของฟันเลื่อยจะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดของโลหะ ใบเลื่อยฟันมาตรฐานสำหรับเลื่อยโลหะเหล็ก ใบเลื่อยฟันข้ามฟันสำหรับเลื่อยอะลูมิเนียม แมกนีเซียม ทองแดง และทองเหลือง และใบเลื่อยฟันตะขอ เหมาะสุดสำหรับวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ


เลื่อยสายพานแนวนอน

เครื่องเลื่อยสายพานแนวนอนเป็นเครื่องมือกลที่สำคัญมากในโรงงานอุตสาหกรรมจะทำงานคล้ายกับเลื่อยชัก แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยจะหมุนเลื่อยชิ้นงานในทิศทางการเลื่อยไปอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงกว่าเลื่อยชัก เลื่อยชนิดนนี้จะใช้ตัดงานในแนวนอน โครงของเลื่อยสายพานจะมีลักษณะเป็นบานพับยึดติดกับฐาน เพื่อที่จะสามารถยกขึ้นลงในแนวตั้งในการเลื่อย ในโครงเลื่อยจะติดตั้งล้อขับและล้อตาม ซึ่งมีแกนหมุนในแนวนอน และใบเลื่อยของเลื่อยสายพานจะวางอยู่บนล้อขับและล้อตามและจะมีกลไกการควบคุมความตึงในการปรับระยะห่างระหว่างวงล้อ เพื่อให้ใบเลื่อยสายพานถูกดึงให้ตึงอยู่บนวงล้อทั้งสอง

เลื่อยไฟฟ้า
เลื่อยสายพานแนวนอน

การทำงานของเลื่อยสายพานแนวนอน

  1. ปรับความตึงของเลื่อยสายพานก่อนการใช้งาน
  2. ติดตั้งการ์ดป้องกันเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
  3. เลือกอัตราป้อนการเลื่อยและความเร็วตามชนิดของวัสดุ
  4. ปรับตั้งท่อสารหล่อเย็นไปยังชิ้นงานให้เหมาะสมเพื่อระบายความร้อนซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเลื่อยสายพานและให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง
เลื่อยไฟฟ้า
เลื่อยสายพานแนวนอน
เลื่อยไฟฟ้า
เลื่อยสายพานแนวนอน

เช็ครายละเอียดราคา เลื่อยสายพาน ทั้งหมดทั้งแนวตั้งและแนวนอนได้ที่นี่


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *