7 อันดับเครื่องมือไฟฟ้ายอดฮิต ต้องมีสำหรับงานไม้ แบบละเอียด

งานไม้ กับ เครื่องมือไฟฟ้า (Powertools)

ปัจจุบันเครื่องมือไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ ดีขึ้นเรื่อยๆ และมีหลากหลายราคาตั้งแต่ ชนิดธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป จนถึงรุ่นที่มี ประสิทธิภาพสูงสําหรับมืออาชีพ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะหามาเป็นเจ้าของสักชิ้น สว่านไฟฟ้าและเลื่อยไฟฟ้านับเป็น เครื่องมือที่ช่วยอํานวยความสะดวกเป็น อย่างมาก ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการ ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะชิ้นงานจะช่วยให้ชิ้นงาน เสียหายยาก ในหนังสือเล่มนี้จึงนํามาใช้แทนค้อน สําหรับเลื่อยไฟฟ้านั้นช่วยให้งาน ตัดมีประสิทธิภาพขึ้น เช่น ใช้ตัดไม้ 2 x 4 ซึ่งค่อนข้างหนาได้อย่างง่ายดาย เนื่องจาก เลื่อยไฟฟ้าใช้ง่าย จึงใช้กับงานอื่น ๆ ได้ หลากหลาย เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่ควรจัด เตรียมไว้

เครื่องมือไฟฟ้า

การเลือก เครื่องมือไฟฟ้า ชนิดต่างๆ

สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือใช้ขันและคลายตะปูเกลียว ชนิดอิมแพ็กต์ (impact) จะมีคุณสมบัติการใช้งานสงกว่า คือ ปรับเปลี่ยนทิศทางรอบหมุนและกําลัง ขับได้ แต่มีราคาค่อนข้างสูง เราจึงเตรียม แบบธรรมดาไว้ก็เพียงพอ

เลื่อยไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่อยากให้จัด เตรียมชนิดที่มีราคาไม่สูงไว้ มีให้เลือกใช้ หลายแบบ โดยทั่วไปจะเป็นเลื่อยวงเดือน

เครื่องขัดไฟฟ้า บ้างก็เรียกว่า แซนเดอร์ (sander) เป็นเครื่องมือที่มีแผ่นขัดหรือ แผ่นกระดาษทรายประกอบติดกับตัวเครื่อง ใช้ขัดพื้นผิววงกว้างได้ดี ขัดมุม หรือสันไม้ ได้สะดวก อาจไม่จําเป็นนัก แต่ถ้ามีไว้ก็จะ ช่วยให้ทํางานง่ายขึ้น

เลื่อยฉลุไฟฟ้า ใช้สําหรับเจาะรูที่เป็น วงกลม โค้งมน หรือใช้ตัดไม้ แม้แต่วัสดุ ประเภทพลาสติกก็ใช้ได้ เหมาะสําหรับทํา ชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดสูง

กบไฟฟ้า เป็นกบไสไม้ที่ใช้ระบบไฟฟ้า ทํางานหมุนใบมีดเพื่อเจาะ ไสชิ้นงาน อาจ ไม่จําเป็นสําหรับมือใหม่

เราเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำร่อง เซาะร่องไม้ หรือสร้างลวดลายบนไม้ ทำงานโดยหมุนใบมีดคัตเตอร์ 360 องศาและตัดหรือทำร่องไม้ ตามความลึกของการปรับความลึก

ทริมเมอร์ เป็นเครื่องมือเจาะ คว้านชิ้นงานด้วยระบบไฟฟ้า ใช้งานสะดวก ความแตกต่างของทริมเมอร์และเราเตอร์คือ ขนาดของตัวเครื่องเราเตอร์และทริมเมอร์ ทริมเมอร์ สามารถใช้งานได้มือเดียว และตัวเครื่องขนาดเล็กกว่า


สว่านไฟฟ้า

สว่านไฟฟ้าถ้าต้องการเจาะรู เพียงมีดอกสว่าน ก็ทํางานได้ แต่ถ้ามีสว่านไฟฟ้าด้วยก็จะ สะดวกยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น งานทําเก้าอี้ ในเล่มนี้ใช้ไม้ 2 x 4 และประกอบเข้าด้วย นอตขนาดใหญ่จํานวนมาก สว่านไฟฟ้าจึง จําเป็นมากเพื่อใช้เจาะรูนํา สว่านไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ชนิดมี สายและชนิดไร้สาย ชนิดไร้สายนั้นใช้ แบตเตอรี่ จึงใช้งานในพื้นที่ต่างๆ ได้สะดวก แต่มีกําลังขับไม่แรงเท่าชนิดมีสาย ส่วน สว่านไฟฟ้าชนิดมีสายนั้นใช้กับงานเจาะรู ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานประดิษฐ์ในเล่มนี้ไม่จําเป็นต้อง ใช้สว่านไฟฟ้าที่กําลังขับมากหรือขนาด ใหญ่จนเกินไป ควรใช้ชนิดไร้สายซึ่งมี น้ำหนักเบา ถ้ามีกําลังซื้ออีกนิด ควรเลือก ชนิดที่ปรับเปลี่ยนทิศทางรอบหมุนหรือ ปรับความเร็วขึ้นลงเป็นจังหวะได้

ชนิดของ ดอกสว่าน

  • เครื่องมือที่ใช้เจาะรูในสมัยก่อน มักใช้ดอกสว่าน แต่ปัจจุบันได้พัฒนาไป เป็นสว่านไฟฟ้า
  • ดอกสว่านเป็นเสมือนสว่านมือ ใช้เจาะได้ด้วยมือเปล่า ดอกสว่านมีหลาย ชนิด มีรูปร่างและการใช้งานแตกต่างกันไป
  • ดอกสว่านที่ใช้เจาะไม้มีลักษณะคล้ายหางปลา ปลายแหลมมีคุณสมบัติทําให้เจาะได้อย่างแม่นยํา ขนาดของดอก สว่านมักไม่กว้างนักที่นิยมใช้มีขนาด 5 มมและ 8 มม

การใช้ สว่านไฟฟ้า

คมตัดของดอกสว่านไฟฟ้านั้นเรียก ว่า หัวสว่าน ซึ่งต้องประกอบเข้ากับตัวสว่าน ก่อนใช้ ก่อนใช้สว่านไฟฟ้าทุกครั้งจึงต้อง ตรวจสอบดูว่าใส่ดอกสว่านแน่นดีแล้วหรือ ไม่ ใส่เอียงหรือดอกสว่านบิดงอหรือไม่สิ่งสําคัญในการเจาะรูด้วยสว่าน คือ ต้องเจาะให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน การเจาะ ไม้บางๆ อาจไม่มีปัญหา แต่การเจาะรูไม้หนาๆ นั้นทําได้ยาก วิธีเจาะรูให้ตรงนั้น ตาต้องมองตรงกับสว่าน ตั้งฉากที่จุดเจาะ ชิ้นงาน เวลาเจาะจึงควรหาไม้หนุนมารอง จึงจะได้รูขนาดที่ถูกต้อง การเจาะรูจึงต้อง ตรวจสอบมุมกับชิ้นงานทุกครั้ง ดอกสว่านที่ขายโดยทั่วไปมีขนาด ตั้งแต่ 6 มม.ขึ้นไป เมื่อจะเจาะรูขนาดพื้น ควรหาตัวหยุดระดับมาติดที่ดอกสว่าน

  • ดอกสว่าน เมื่อต้องการขันตะปูเกลียว มักใช้ดอกสว่านชนิด plus bit และสําหรับ งานไม้ที่ต้องการความประหยัด จัดหาดอก สว่านไว้เพียงชนิดเดียวสําหรับขันและคลาย ตะปูเกลียวก็พอ
  • หัวสว่าน ตัวยึดดอกสว่านสําหรับสว่าน ไฟฟ้า เพื่อให้ใส่และถอดดอกสว่านได้ง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วยฅ
  • ปุ่มปรับคลัตช์ ใช้สําหรับปรับความแรง ในการหมุน
  • ปุ่มปรับความเร็ว ใช้ปรับความเร็วรอบ หมุน ทั่วไปปรับได้ 2 ระดับคือสูงและต่ำ แต่บางรุ่นอาจปรับได้มากกว่านั้น
  • ปุ่มปรับทิศทางหมุน ใช้สําหรับปรับเปลี่ยน ทิศทางการหมุนเพื่อคลายตะปูเกลียว
  • แบตเตอรี่ ถอดเปลี่ยนได้ ปัจจุบันมักเป็น – ชนิดที่ใช้งานความเร็วสูงได้นานถึง 20 นาที
  • ใช้สายตาเล็งเมื่อขันยึดตะปูเกลียว ขณะ ใช้สว่านขันตะปูเกลียว ต้องใช้ปลายสว่าน (ดอกสว่าน) อยู่ในแนวตั้งฉากกับตะปูที่ยึด ชิ้นงาน เพราะถ้าจับหัวตะปูเอียง เมื่อขันยึด จะทําให้หัวตะปูไม่ราบเข้ากับชิ้นงาน ควร จับให้ดอกสว่านตรงร่องหัวตะปูทุกครั้งฅ
  • การเลือกความยาวของตะปูเกลียว ตะปู เกลียวมีแรงยึดดีกว่าตะปู ควรเลือกให้มี ความยาวเป็น 2 เท่าของความหนาชิ้นงาน
  • ปรับคลัตซ์ ไม่ค่อยมีผลเวลาขันตะป เกลียวขนาดยาว แต่มีผลกับตะปูเกลียว ขนาดสั้น ถ้าเราปรับคลัตซ์อ่อนไปจะยึด ตะปูไม่อยู่ ถ้าปรับให้แรงไปตะปูจะกินเนื้อไม้ และอาจทําให้ไม้แตก
  • หลบหัวตะปูเกลียว ทําได้โดยคว้าน รูกลมให้ลึกกว่าหัวตะปู แล้วยึดตะปูเกลียว ลงไป จากนั้นใช้แท่งไม้กลมตัดอัดปิดรู ช่วย ให้หัวตะปูเกลียวไม่โผล่ขึ้นมา หรือจะใช้ ไม้ก๊อกสําหรับปิดรูงานไม้ก็ได้

ดูราคา สว่านไฟฟ้า เพิ่มเติมได้ที่นี่


เลื่อยไฟฟ้า

เลื่อยชัก ไฟฟ้า

  • อย่าให้ใบเลื่อยยื่นออกมามากเกินไป ควรปรับใบเลื่อยให้เลยจากความหนาของ แผ่นไม้ลงมาประมาณ 10 มม. ถ้าใบเลื่อย ยื่นออกมามากเกินไปจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และตัดปากไม้ได้ไม่สวย
  • ตัดโดยทิ้งระยะห่างจากรอยเส้น เนื่องจาก ใบเลื่อยมีความหนาจึงควรตัดห่างจากด้าน นอกของเส้น
  • ใช้รั้วตัด ถ้าใช้เลื่อยไฟฟ้าชนิดที่มีรั้วตัด ติดอยู่ จะช่วยให้ตัดเส้นตรงยาวได้สะดวก
  • ระวังการดีดตัว การดีดตัวหรือ kickback เกิดจากการที่ใบเลื่อยกินเนื้อไม้แล้วเกิด การหักเห ทําให้มีแรงดันและเป็นอันตราย วิธีป้องกันคือ ไม่ฝืนออกแรงไสไปข้างหน้า และไม่ใช้ใบเลื่อยที่หลวมเพราะเป็นสาเหตุ ให้เกิดการดีดตัวได้

ดูราคา เลื่อยไฟฟ้า เพิ่มเติมได้ที่นี่


เลื่อยฉลุไฟฟ้า

เลื่อยฉลุไฟฟ้า

  • สวิตซ์ ใช้สําหรับเปิดปิดเลื่อย โดยทั่วไป เมื่อกดปุ่มนี้ จะปรับความเร็วได้ด้วย
  • ฐาน ใช้ปรับทิศทางมุมซ้ายและขวา หรือ แม้แต่มุมหน้าตัดของชิ้นงาน
  • ใบเลื่อย เป็นระบบถอดเปลี่ยนใบเลื่อยได้ วิธีการจะแตกต่างไปตามชนิดของเลื่อยฉลุ

หลักการใช้ เลื่อยฉลุไฟฟ้า พื้นฐาน

เวลาตัดเส้นโค้งหรือตัดด้วยความเร็ว บ่อยครั้งที่ใบเลื่อยจะหักไม่ไปในทิศทาง ที่ต้องการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ เช่นนี้ จึงไม่ควรใช้ความเร็วในการตัด ใบเลื่อยฉลุจะทํางานโดยขยับขึ้นลง จึงควรหาอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานไว้ไม่ให้เคลื่อน ถ้ามีเลื่อยฉลุชนิดมีแท่นนําที่มีแกนวัดติด อยู่ด้วย จะช่วยเพิ่มความแม่นยําในการตัด ชิ้นงานมากขึ้น


เครื่องขัดกระดาษทราย

เครื่องขัดกระดาษทราย ไฟฟ้า
เครื่องขัดกระดาษทราย ไฟฟ้า
  • ชนิดของแผ่นขัด แผ่นขัดที่ใช้โดยทั่วไป มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่แผ่นขัดมีวงขัดเป็น เวงทั้งแผ่น เรียก detail sander และชนิด ที่มีวงขัดหลายวง เรียก random orbital sander ซึ่งแบบ detail sander จะขัดได้ใน วงกว้างมากกว่าแบบ random orbital sander เราเลือกเปลี่ยนความหยาบของ แผ่นขัดได้เหมือนกับกระดาษทรายด้วย
  • การใช้งานอย่างถูกวิธี จับ 2 มือจะช่วย ไม่ให้แรงขัดมากเกินไป เพราะถ้าออกแรง มากเกินไปจะทําให้แผ่นขัดหมุนไม่สม่ําเสมอประสิทธิภาพงานขัดลดลง และควรระวังคม ของแผ่นขัดด้วย ขัดให้เสมอกันทุกด้าน ควรขัดขึ้นลงใน จังหวะที่สม่ําเสมอทุกด้านทั้งแนวตั้งและ แนวนอนเพื่อป้องกันรอยด่าง
  • การขจัดฝุ่นผงออกจากแผ่นขัด ระหว่าง ที่ทํางานควรทําความสะอาดฝุ่นผงที่เกิด จากการขัดผิวออก และอย่าลืมสวม หน้ากากกันฝุ่นผงระหว่างทํางานด้วย ปัจจุบันมีเครื่องขัดชนิดมีอุปกรณ์ดูดฝุ่นติด กับตัวเครื่องจําหน่ายแล้ว

กบไฟฟ้า

กบไฟฟ้า

เป็นกบไสไม้ที่ใช้ระบบไฟฟ้า ทํางานหมุนใบมีดเพื่อเจาะ ไสชิ้นงาน เพื่อปรับขนาดให้เหมาะสม หรือ ต้องการแแต่งผิวหน้าไม้ให้สม่ำเสมอ เรียบเนียน กบไฟฟ้าเป็นเครื่องทีมีใบมีดสำหรับเฉือดไม้ กบไฟฟ้ามีหายขนาดให้เลือกใช้งาน อยู่ 2 แบบ กบที่ทำด้วยไม้ หรือกบDIY และ กบที่ทำจากเหล็ก กบไฟฟ้า
กบทำด้วยไม้ หรือกบมือ DIY เป็นกบที่ทำขึ้นมาใช้งานเองตามความต้องการ การทำงานมีความเงียบ ประหยัดต้นทุน ต้องใช้แรงของผู้ใช้งาน
กบเหล็ก หรือกบไฟฟ้า เป็นกบไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าทำงาน มีราคาที่สูงกว่ากบไม้ กบไฟฟ้าเป็นที่นิยมมาในปัจจุบัน เพราะประหยัดเวลาทำงาน ประหยัดแรง ความเร็วในการทำงาน


เราเตอร์ 

เราเตอร์

เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำร่อง เซาะร่องไม้ หรือสร้างลวดลายบนไม้ ทำงานโดยหมุนใบมีดคัตเตอร์ 360 องศาและตัดหรือทำร่องไม้ ตามความลึกของการปรับความลึก เราเตอร์เหมาะกับงานขนาดใหญ่ หรือปริมาณที่มาก

ทริมเมอร์

ทริมเมอร์ ไฟฟ้า

เป็นเครื่องมือเจาะ คว้านชิ้นงานด้วยระบบไฟฟ้า ใช้งานสะดวก ความแตกต่างของทริมเมอร์และเราเตอร์คือ ขนาดของตัวเครื่องเราเตอร์และทริมเมอร์ ทริมเมอร์ สามารถใช้งานได้มือเดียว และตัวเครื่องขนาดเล็กกว่า เคลื่อนย้ายทำงานได้สะดวก ราคาไม่แพงเท่า เราเตอร์


ดูราคา เครื่องมือไฟฟ้า เพิ่มเติมได้ที่นี่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *